วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

แคปซูลเลือดจระเข้ ผลงานของ ม. เกษตรศาสตร์ ให้"วานิไทย" "Wani Thai"ใช้ประโยชน์เพียงรายเดียว !!!อย่าเชื่อยี่ห้ออื่น แอบอ้าง

+++แคปซูลเลือดจระเข้ ผลงานของ ม. เกษตรศาสตร์ ให้"วานิไทย" "Wani Thai"ใช้ประโยชน์เพียงรายเดียว !!!


ตอนนี้มียี่ห้ออื่นแอบอ้าง เช่น ยี่ห้อ MO...AS แอบอ้างชื่อผู้วิจัย จาก 3 สถาบันว่าร่วมมือกับเขาทำให้ได้ยี่ห้อนั้น ซึ่งมันเป็นเล่ห์เหลี่ยมของผู้ประกอบการที่ไม่มีจริยธรรม เข้าข่ายละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ของ ม. เกษตรศาสตร์ ที่ รศ.ดร. วิน เชยชมศรี และ รศ.ดร จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ เป็นผู้ประดิษฐ์


***ทั้งนี้โดยความเป็นจริงแล้วการคิดค้นและพัฒนาเลือดจระเข้เป็นอาหารเสริมชนิดแคปซูลเป็นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่ง รศ. ดร. วิน เชยชมศรี และรศ. ดร. จินดาวรรณ สิรันทวิเนติ เป็นผู้ประดิษฐ์ โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ 1) ทุนอุดหนุนวิจัยร่วมภาคเอกชน ศูนย์รัฐร่วมเอกชน (ศรอ.). มก. 2) ทุนอุดหนุนการวิจัย มก. และ 3) ทุนโครงงานวิจัยระดับปริญญาตรี (IRPUS) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่าย 5 อุตสาหกรรม โดยลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ฯ คือ ขั้นตอนในการผลิตอาหารเสริมจากเลือดจระเข้ดังกล่าวผ่านการระเหิดแห้งด้วยกระบวนการฟรีซดราย (Freeze Dry) เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามอนุสิทธิบัตรเลขที่ 5074 ออกให้โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2552 (คำขออนุสิทธิบัตรเลขที่ 0603000469, 5 เมษายน 2549) และได้อนุญาตให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดวานิไทย เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว ตามสัญญาที่ 1/2551 และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสำนักงานบริการวิชาการได้มีพิธีลงนามถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเลือดจระเข้แห้ง ให้กับห้างหุ้นส่วนจำกัดวานิไทย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 และมหาวิทยาลัยฯ ได้แจ้งจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามอนุสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2552

!!! การลงสื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัทอื่น เช่นเจ้าของยี่ห้อ MO...AS ดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลที่คลุมเครือ ไม่ถูกต้อง โดยกล่าวอ้างถึงผลงานวิจัยจากสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่อถึงการใช้ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์เพื่อเอื้อต่อผลประโยชน์ทางการค้าของผลิตภัณฑ์จากบริษัทฯ และอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดว่าบริษัทดังกล่าวเป็นเจ้าของ/ ผู้ให้ทุนวิจัยผลิตภัณฑ์ฯ ซึ่งในความเป็นจริงบริษัทอื่นที่แอบอ้างนี้มีส่วนเฉพาะการสนับสนุนวัตถุดิบและการให้เกียรติมีชื่อในผลงานวิจัยที่เผยแพร่ทางวิชาการเท่านั้น โดยก่อนหน้านี้บริษัทฯ ดังกล่าว ได้รับทราบว่ากระบวนการที่เกี่ยวข้องในการผลิตผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้แห้งบรรจุแคปซูล เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้ยื่นขอรับการคุ้มครองในลักษณะสิทธิบัตร/ อนุสิทธิบัตรแล้ว และคณะวิจัยได้เจรจาให้มาใช้สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรเพื่อความถูกต้อง แต่บริษัทนี้ ก็ละเลย เพิกเฉย และไม่ได้สนใจติดต่อขอใช้ประโยชน์ฯ จากทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปัจจุบันคณะวิจัยไม่มีการติดต่อกับบริษัทนี้ มากกว่า 1 ปีแล้ว ทางบริษัทนี้ ก็มีการนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปดำเนินการอ้างอิงเพื่อขอขึ้นทะเบียนกับ อย. (สำนักคณะกรรมการอาหารและยา) โดยมิได้รับการอนุญาตจากคณะวิจัยเลย นอกจากนี้บริษัทที่ไร้จริยธรรมนี้ ยังไม่ได้ดำเนินการติดต่อขอใช้อนุสิทธิบัตร จากห้างหุ้นส่วนจำกัดวานิไทย และมหาวิทยาลัยฯ จึงถือว่าการกระทำในลักษณะดังกล่าวของบริษัทนี้ เข้าข่ายการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์เลือดจระเข้แห้งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และขณะนี้ หจก. วานิไทย อยู่ในระหว่างดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดเพื่อการผลิตของบริษัทดังกล่าวอยู่


!!! ผู้บริโภคโปรดใช้วิจารณญานในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ "แคปซูลเลือดจระเข้/ เลือดจระเข้ ชนิดแคปซูล" ว่าเป็นสินค้าที่ผลิตภายใต้อนุสิทธิบัตร ม. เกษตรศาสตร์ หรือเปล่า? ใช่ยี่ห้อ "วานิไทย" "Wani Thai" สัญลักษณ์รูป "ว" ไหม?

ถ้าไม่ใช่!!! อย่าเชื่อ หลงซื้อมาใช้ เพราะหากท่านบริโภคแล้วเป็นอะไรไป ม. เกษตรศาสตร์ และผู้วิจัยทั้งสองของ ม. เกษตรศาสตร์ ไม่ขอรับผิดชอบด้วย

ร่วมประณาม และไม่ส่งเสริมผู้ประกอบการที่นิสัยแย่ๆ ไร้จริยธรรม หลอกลวงผู้บริโภค ***


+++หากท่านอ่านบทความนี้แล้วช่วยบอกข้อมูลที่ถูกต้องให้เพื่อนๆ ท่านได้รับทราบข้อความจริงด้วยนะ *มาร่วมสร้างสังคมอุดมปัญญาด้วยกัน ขอบพระคุณทุกท่านที่สละเวลาในการอ่านบทความนี้+++


:) ไกรทอง ณ ม. เกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น